เกี่ยวกับระบบทัชสกรีนบนแท็บเล็ต

Image
ระบบทัชสกรีนจริงๆ แล้วไม่ใช่เรื่องใหม่ครับ จะเรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่เอี่ยมสมัยคุณพ่อยังหนุ่มก็ยังได้ เพราะมีการจดสิทธิบัตรครั้งแรกเกี่ยวกับ Touch Sensor ในปี 1970 และถูกพัฒนามาเรื่อยๆ จนเริ่มมีใช้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในช่วงปี 1980 และเพิ่งจะมีมาใช้บนมือถือในช่วง 12-13 ปีที่ผ่านมานี้เอง



(ทัชรุ่นเดอะ (เรียงจากซ้ายไปขวา) Apple Newton, IBM Simon และ PalmPilot)



ยุคแรกของทัชบนมือถือ

มือ ถือยุคแรกๆ ที่ติดระบบทัชสกรีนมาให้ จะเรียกว่ามือถือก็คงไม่เต็มปาก เพราะมันถูกใช้บน PDA หรืออุปกรร์ช่วยเหลืองานส่วนตัวนั่นเอง ขณะนั้น (ราวๆ 15 ปีก่อน) อุปกรณ์นี้ยังคงใช้จอขาวดําอยู่ ยังไม่ค่อยนิยมมากนัก เพราะราคาแพงมหาโหด เหมาะกับนักธุรกิจใช้งานด้านการจัดการต่างๆ มากกว่า โดยรุ่นที่ใช้งานเป็นรุ่นแรกๆ เช่น EO Communicator 440/880, กลุ่ม PalmPilot

สำหรับมือถือทัชสกรีนรุ่นแรกของโลก มีนามว่า IBM Simon เริ่มวางขายในปี 1994 ในราคาแพงลิบลิ่วประมาณ 30000 บาท หน้าจอเป็นแบบยาว ต้องใช้ Stylus จิ้มๆ เพื่อกดเบอร์โทรออก หรือบังคับฟังก์ชั่นต่างๆ และรุ่นนี้ยังถือว่าเป็นสมาร์ทโฟนรุ่นแรกของโลกอีกด้วย เพราะภายในสามารถใช้งานปฏิทิน เครื่องคิดเลข สมุดบันทึก อีเมล และมีเกมให้เล่นด้วย แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าไหร่ ข้ามมาปี 2000 รุ่นที่นิยมกันเลยก็คือ Ericsson R380 ที่รองรับระบบทัชสกรีน แต่ยังคงเป็นจอขาวดําเหมือนเดิม ต่อมาปี 2001 จึงมีมือถือทัชจอสี (ใช้วินโดว์ซะด้วย) ออกมา เช่น Siemens SX45

Image

จุดเริ่มต้นเทรนด์จิ้มจอ

ใน ช่วงก่อนปี 2007 มือถือทัชสกรีนยังคงกระจุกอยู่ในผู้ใช้ PDA ซะส่วนใหญ่ (ก็มันมีมาแต่ไหนแต่ไรแล้วนี่หน่า) และมือถือรุ่นอื่นๆ ที่ออกแบบทัช ก็เป็นอันต้องม้วนเสื่อกลับบ้าน เพราะราคาสุดแสนจะแพง (25000+ บาท) และการใช้งานยังถือว่า "ยาก" ผู้ใช้ส่วนใหญ่เลยวางเฉย แต่ต่อมามีอัศวินมาช่วยทําลายกําแพงมือถือทัชก็คือ "iPhone" นั่นเอง โดยรุ่นแรกเปิดตัวในปี 2007 และกลายเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว เพราะมีอินเตอร์เฟสสวย ตอบสนองการสัมผัสได้รวดเร็วเกินคาด (และปัจจุบันก็ยังคงครองแชมป์ในด้านทัชไวหลุดโลกเช่นเดิม) รองรับระบบมัลติทัชซึ่งถือว่าเป็นระบบใหม่มากๆ ในขณะนั้น (เดี๋ยวจะอธิบายในหัวข้อถัดๆ ไป) จากนั้นมือถือทัชสกรีนก็กลายเป็นเทรนด์ยอดนิยมในทันที และกลายเป็นเทรนด์ปกติไปแล้วในปัจจุบันครับ

Image

"ซัมซุง" ทัชง่ายๆ บนมือคุณ

เป็น ที่ทราบกันดีว่า ไอโฟนจากแอปเปิ้ลเป็นผู้ที่ทำให้มือถือทัชสกรีนเป็นที่นิยมในปัจจุบัน แต่แบรนด์ที่ทําให้ผู้ใช้เข้าถึงมือถือทัชสกรีนได้มากที่สุด กลับเป็นแบรนด์จากเกาหลี "ซัมซุง" เพราะเป็นผู้ทําลายกําแพงราคามือถือทัชสกรีน จากที่มีราคาแพงโหดในระดับ 2.5-3 หมื่นบาท ลงมาอยู่ในระดับ 1.6 หมื่นบาทเท่านั้น โดยรุ่นแรกที่เปิดตัววางขายทั่วโลกคือ F480 (ในไทยยังคงวางขายจนปัจจุบัน) จากนั้นมาแบรนด์นี้ก็ออกมือถือทัชสกรีนมาหลายรุ่นจนทําให้ครองส่วนแบ่งมือ ถือทัชสกรีนทั่วโลกมากกว่า 40% และเป็นต้นแบบให้แบรนด์อื่นๆ ออกมือถือทัชตามมาในภายหลัง

Image

[img]สงครามทัชสกรีนเต็มรูปแบบ[/img]

แน่ นอนว่า เมื่อตลาดมือถือเจอเจ้าพ่อเจ้าแม่ทัชสกรีนอย่าง Apple และ Samsung นําเสนอในสิ่งที่แปลกใหม่ออกไป ทําให้แบรนด์อื่นๆ แห่ทําตามด้วย โดยเฉพาะ LG ที่ออกมือถือทัชสกรีนมาสู้กับค่ายประเทศเดียวกันอย่าง Viewty, KS20 ซึ่งก็ได้ีความนิยมมากไม่แพ้กัน ต่อมาค่ายอื่นก็แห่ออกมือถือทัชสกรีนมาสู้กันเรื่อยๆ จนกลายเป็นเรื่องปกติไปในตอนนี้ ส่วนค่ายโนเกียซึ่งยังครองส่วนแบ่งอันดับ 1 ของโลกในปัจจุบัน ก็มีมือถือทัชสกรีนออกมาหลายรุ่นแล้ว หลังจากโกยยอดขายจาก 5800 XpressMusic ไปมหาศาล เช่น 5530 XpressMusic, N97, X6 ทั้งหมดเป็นมือถือสมาร์ทโฟนซิมเบี้ยนครับ และสามารถใช้งานได้ดีซะด้วย ในอนาคตโนเกียเตรียมออกสุดยอดสมาร์ทโฟนเพิ่มเติมอีก โดยเฉพาะข่าวคราวของ Nokia N8-00 ที่ติดกล้อง 12MP+Zenon หน้าจอใหญ่ถึง 3.7 นิ้ว !!

ส่วน กลุ่ม PDA ที่ใช้ระบบทัชสกรีนมาแต่ไหนแต่ไร ปัจจุบันมีให้เลือกมากขึ้น และไม่ต้องพะวงเรื่องราคาอีกต่อไป นับตั้งแต่ Samsung เปิดตัว Omnia มา ทําให้ตลาด PDA มีราคาถูกลงเรื่อยๆ จนปัจจุบัน คุณสามารถถอยสมาร์ทโฟนวินโดว์โมบายความสามารถสูงได้ในงบเพียงหมื่นบาท นอกจากนี้ยังมีหลากหลาย OS ที่มาแรงตอนนี้ก็คือ Android !!

Image

หน้าจอ

หน้า จอของระบบทัชสกรีนที่ใช้ในมือถือมีอยู่ 2 รูปแบบหลักๆ ครับคือ Resistive กับ Capacitive ส่วนแบบ Infrared, Acoustic wave นั้นจะถูกใช้บนหน้าจอคอมพิวเตอร์มากกว่า

Image

Resistive TouchScreen

หน้า จอทัชสกรีนแบบ Resistive หรือเรียกกันว่าจอนิ่ม เป็นหน้าจอรูปแบบแรกๆ ที่ถูกใช้มาตั้งแต่ยุคแรกเริ่ม ยันปัจจุบันนี้ โดย Touch Screen แบบ Resistive จะประกอบด้วย เลเยอร์ด้านบนที่ยืดหยุ่นและเลเยอร์ด้านล่างที่อยู่ บนพื้นแข็งคั่น ระหว่าง 2 เลเยอร์ด้วยเม็ดฉนวนซึ่งทำหน้าที่แยกไม่ให้ด้านในของ 2 เลเยอร์สัมผัสกันเำพราะด้านในของ 2 เลเยอร์นี้จะเคลือบด้วยสารตัวนำไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติโปร่งแสงในเวลาจะมี การปล่อยกระิแสที่เลเยอร์สารตัวนำ และเมื่อคุณกดที่ Touch Screen จะทำให้วงจร 2 เลเยอร์ต่อถึงกัน จากนั้นวงจรควบคุมก็จะคำนวณ ค่ากระแสไฟฟ้า ซึ่งจะแตกต่างไปตามตำแหน่งที่สัมผัส เมื่อคำนาณค่ากระแสตามแนว ตั้งและแนวนอนก็จะำได้ตำแหน่งที่สัมผัสบนหน้าจอ

จุดเด่นหลักๆ ของหน้าจอประเภทนี้ืคือ ต้นทุนสุดแสนจะถูก กินไฟน้อย ความแม่นยําในการทัชสูง และทนทานต่อฝุ่น ความชื้นได้ดี ใช้อะไรจิ้มจอก็ได้ ส่วนข้อเสียหลักๆ คือ จอไม่ค่อยทนเท่าไหร่ และแสดงผลได้ไม่ดีเท่าจอ Capacitive

Image

Capacitive TouchScreen

ตอน นี้เทรนด์หน้าจอแข็ง หรือ Capacitive ก็มาแรงเช่นเดียวกัน เพราะปกติก็มีใช้บนไอโฟนอยู่แล้ว แรกๆ ยังมีราคาต้นทุนที่แพงเอาเรื่องอยู่ แต่ตอนนี้ถือว่าไม่แพงแล้วครับ เพราะซัมซุงสามารถติดตั้งจอประเภทนี้ในรุ่นถูกๆ อย่าง Samsung One หรือ Candy ได้ โครงสร้างของ TouchScreen แบบ Capacitive นั้นประกอบด้วยแผ่นแก้วเึคลือบผิวด้วยอ็็อกไซด์ของโลหะแบบโปร่งแสง เมื่อถึงเวลาการใช้งานก็จะมีการป้อนแรงดันไฟฟ้าที่มุมทั้วสี่ของ Touch Screen เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ความเข้มสม่ำเสมอตลอดทั่ว ทั้งแผ่น ผู้ใช้จะต้องใช้นิ้วมือเปล่าๆสัมผัสที่จอเพื่อดึงกระแสจากแต่ละมุมที่ให้แรง ดันตกลง จากนั้นแผงวงจรควบคุมก็จะคำนวณเป็นตำ้เหน่งที่สัมผัสได้

ข้อ ดีหลักๆ ของมันก็คือ แสดงผลได้คมชัดมากสุดๆ เพราะแสงสามารถส่องออกมาได้เต็มที่ ทนทานมาก เพราะส่วนใหญ่มือถือประเภทนี้จะใช้จอนอกเป็นกระจกอยู่แล้ว และจะใช้ Tempered Glass ในมือถือรุ่นสูงๆ ยิ่งทําให้ทนทานหนักขึ้นไปอีก ตอบสนองการสัมผัสได้เร็วสะใจ รองรับระบบมัลติทัชเต็มรูปแบบ แต่ข้อเสียก็มีเหมือนกันคือ ต้องใช้นิ้ว หรือใส้กรอกจิ้มเท่านั้นนะครับ ใช้เล็บ ปากกาจิ้มไม่ได้

Image

(ด้านบนคือ Samsung Wave ที่ใช้จอแบบ S.AMOLED)

ส่วน ชนิดหน้าจอนั้น ส่วนมากจะใช้ TFT-LCD ธรรมดา แต่ในขณะนี้ ซัมซุง (เจ้าเก่า) ได้ผลักดันหน้าจอ AMOLED ลงมือถือทัชเรื่อยๆ (แถมยังเปิดตัว Super AMOLED ออกมาอีกตะหาก) ซึ่งหน้าจอประเภทนี้จะคมชัดมาก และสามารถใช้งานกลางแดดได้ดีเยี่ยม โดยเฉพาะ Super AMOLED ที่ชูเป็นหนึ่งจุดเด่นของหน้าจอประเภทนี้เช่นเดียวกัน

Image

มัลติทัชคืออะไร

มัลติ ทัชเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีภาคต่อของทัชสกรีนครับ จะแปลตรงตัวเลยก็คือ การสัมผัสที่มากกว่า 1 จุด ถูกพัฒนามานานไม่แพ้กับทัชสกรีนเช่นเดียวกัน แต่ได้ถูกเอามาใช้จริงๆ จังๆ เมื่อแอปเปิ้ลได้นํามันมาใช้บนไอโฟนนี้เอง ผู้ใช้สามารถบังคับหน้าจอได้โดยใช้ 2 นิ้ว (หรือมากกว่านั้น) เพื่อสั่งงานในรูปแบบต่างๆ เช่น ซูมเข้าออกเว็บเพจ หรือรูปภาพ, เล่นเกม ฯลฯ ส่วนการทํางานจะต้องอาศัยทั้ง HW-SW ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ส่วนใหญ่ระบบมัลติทัชจะมีใช้งานบนมือถือทัชสกรีนแบบ Capacitive ส่วน Resistive มีเทคโนโลยีที่จะทําให้มันใช้งานมัลติทัชได้แล้ว แต่ยังไม่มีใช้อย่างเป็นทางการ

Image

หน้าจอทัชในอนาคต

มี คํายืนยันของเหล่าผู้ผลิตหน้าจอทั้งหลายแล้วว่า "จะมีหน้าจอแบบ Flexible หรือยืดหยุ่นได้ออกมาแน่นอน" ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ ซึ่งจะทําให้มือถือ ไม่จําเป็นต้องเป็นทรงแ่ท่งแข็งๆ อีกต่อไปแล้ว มันจะสามารถ "ม้วนเป็นรูปทรงต่างๆ ได้" และแน่นอนว่า จากการม้วนเป็นรูปทรงต่างๆ จะเป็นการสั่งการมือถือไปในตัวด้วย เช่น ม้วนเป็นรูปถ้วย จะเป็นการค้นหาร้านอาหารใกล้เคียง เป็นต้น

อนาคตของมือถือทัชสกรีน

คิด ว่าหลายท่านคงได้ดูภาพยนตร์แนวๆ วิทยาศาสตร์กันไม่มากก็น้อย อย่างในเรื่อง 2012 จะเห็นว่าเทคโนโลยีทันสมัยมาก และแน่นอนว่า อนาคตจะต้องมีแบบนั้นแน่นอน ระบบทัชสกรีนในปัจจุบันถือว่าพัฒนารวดเร็วมากในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา จากที่ไม่ได้รับความนิยม กลายเป็นสิ่งที่ปกติไปแล้วสําหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป หลายค่ายต่างคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการสัมผัส โดยเฉพาะระบบมัลติทัช ที่เดี๋ยวนี้แทบจะสั่งงานได้สาระพัดรูปแบบ ดังนั้น ระบบทัชสกรีนจึงเป็นระบบที่จะเข้ามาทดแทนปุ่มกดแบบเดิมๆ ได้ในอนาคต ไม่เฉพาะในมือถือ แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดก็ต้องมีระบบทัชสกรีนเช่นเดียวกันครับ

มือ ถือทัชสกรีนเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้งานด้านต่างๆ ได้มากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะด้านบันเทิง ท่องโลกออนไลน์ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะพัฒนาควบคู่กันไปเรื่อยๆ ตามกาลเวลาที่ผ่านไป ทั้งนี้ เราต้องดูตัวเองด้วยว่า มันเหมาะกับการใช้งานเรามั้ย เพราะบางครั้งมือถือที่เราซื้อมานั้น อาจจะไม่ใช่ตัวที่ตอบโจทย์เราก็เป็นได้ ....

ที่มา :เกี่ยวกับระบบทัชสกรีนบนแท็บเล็ต